ส่วนประกอบธนู Parts of Bow

แอดมินเชื่อว่าหลายๆคนหลังจากที่ได้มาทดลองยิงธนูที่สนามก็รู้สึกว่าจริงๆแล้วการยิงธนูนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด หลายคนติดใจอยากยิงธนูเป็นงานอดิเรก หรืออยากจะฝึกฝนจริงจังเพื่อเป็นนักกีฬายิงธนู แต่ก่อนที่จะเริ่มทำอะไรสักอย่างหลายๆคนก็อยากจะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และวันนี้แอดมินก็มีบทความดีๆเกี่ยวกับคันธนูมาฝากทุกคนค่ะ

ใครที่ได้อ่านบทความก่อนหน้านี้ที่พูดถึงประเภทต่างๆของธนูก็จะรู้ว่าธนูมักจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆมากมาย (ยกเว้นธนูโบราณที่มักจะเป็นไม้ท่อนเดียว) ส่วนประกอบของธนูนั้นมีอะไรบ้าง และ แต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร วันนี้เราจะมาแยกส่วนประกอบของธนูกัน โดยขอเริ่มอธิบายจากส่วนที่เป็นพื้นฐานสำคัญของธนูก่อนเลยค่ะ

  1. ด้ามธนู หรือ Riser  (ต่อไปนี้จะขอทับศัพท์ว่าไรเซอร์) 

ไรเซอร์โดยทั่วใปที่เห็นบ่อยตามท้องตลาดมักจะผลิตจากวัสดุหลักๆ 3 ชนิด คือ ไม้ คาบอน และ อลูมิเนียม วัสดุแต่ละประเภทก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป หากให้อธิบายเปรียบเทียบในเชิงลึกอาจจะทำให้ผู้อ่านยิ่งสับสน จึงขอสรุปข้อดี-ข้อเสียของ 3 วัสดุนี้ง่ายๆดังนี้

วัสดุข้อดีข้อเสีย
  ไม้ราคาถูกน้ำหนักเบาเหมาะสำหรับมือใหม่  ไม่สามารถปรับจูนคันให้เหมาะสมกับผู้ยิงได้ ไม่เหมาะใช้แข่งขันที่ต้องการความเสถียร/ความแม่นยำ
คาร์บอนน้ำหนักเบามีระบบรับแรงสั่นสะเทือนที่ดี(Better Vibration Damping)ตัวคาร์บอนเปลี่ยนรูป/บิด/เบี้ยวได้ง่ายตามการใช้งานและสภาพอากาศราคาสูง
อลูมิเนียมสามารถปรับจูนคันให้เหมาะสมกับผู้ยิงได้มีความแม่นยำสูงน้ำหนักมากราคาสูง

1.2 ช่องใส่เรสวางลูกธนูและพลังเจอร์ Arrow Rest
1.3 กริป หรือด้ามจับ Grip ช่องใส่ศูนย์ถ่วง Stabilizer mount
1.4 ช่องใส่ศูนย์ถ่วง Stabilizer mount
1.5 ลิ้มพ็อคเก็ต Limb Pocket ช่องใส่ปีกธนู(ลิ้ม)

2.ปีกธนู (หรือ Limb ซึ่งต่อไปจะทับศัพท์ว่าลิ้ม) คือตัวปีกส่วนบนและล่างที่ติดกับไรเซอร์ มีความโค้งตรงส่วนปลายของลิ้ม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อธนูประเภทนี้ (ธนูโค้งกลับ/Recurve)

ลิ้มจะอยู่เป็นคู่ ประกอบไปด้วย ลิ้มส่วนบน(Upper Limb)และลิ้มส่วนล่าง(Lower Limb) โดยลิ้มจะเป็นตัวกำหนดน้ำหนักปอนด์ของคัน *ระวังอย่าสับสันกับน้ำหนักของคันธนู กับน้ำหนักแรงดึงของธนู เวลาที่นักธนูนักธนูพูดว่าเบา หรือ หนัก ส่วนใหญ่นั้นหมายถึงแรงดึงซึ่งจะวัดค่าเป็นปอนด์ (Poundage)  โดยจะเพิ่มทีละ 2 ปอนด์ (เช่น 14-16-18-20ปอนด์)

หากจะพูดให้เห็นภาพอย่างชัดเจนแอดมินขอเปรียบเทียบลิ้มกับเสื้อผ้า เพราะลิ้มมีไซส์หรือความยาวตามมาตรฐานตามสากลคือ S-M-L (ยกเว้นบางยี่ห้อเริ่มผลิตลิ้มSS เช่น Hoyt) และแน่นอนว่าลิ้มผลิตจากวัสดุที่หลากหลายเช่น ไฟเบอร์กลาส โฟม คาร์บอน ไม้ และคาร์บอนโฟม โดยวัสดุที่ต่างกันก็ให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันนั่นเองค่ะ 

3.สายธนู

4.เรสวางลูกธนู Arrow rest

5.พลังเจอร์ หน้าที่หลักๆคือการทำให้ลูกธนูอยู่ตำแหน่งเดิมบนเรสทุกครั้ง

Credit: Shibuya Archery

6.ตัวถ่วงน้ำหนัก Weight (Barebow) สำหรับธนูBarebow อุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้นอกจาก 5 ข้อที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็คือ ตัวถ่วงน้ำหนัก หรือ ทับศัพท์ว่า Weight/เวท/ หน้าที่ของมันคือการรักษาบาลานซ์ของคัน

Barebow-Weight
Credit: Bicaster Archery

7.ศูนย์เล็ง Sight 

8.คลิกเกอร์ Clicker เป็นแผ่นโลหะบางๆติดอยู่ที่ตัวไรเซอร์ หรือ ติดที่ก้านของศูนย์เล็ง เมื่อนักกีฬาดึงคันมาถึงจุดFull Draw อุปกรณ์นี้จะส่งเสียง “คลิก” เป็นสัญญาณบอกนักกีฬาว่ามาถึงจุดFull Draw

Credit: Shibuya Archery

9.ศูนย์ถ่วง Stabilizer มีลักษณะเป็นก้านยาวๆ โดยที่เราสามารถเพิ่มตัวWeight ติดที่ก้านอีกที และตัวศูนย์ถ่วงนี้จะทำหน้าที่รักษาบาลานซ์ของคัน

Credit: Shibuya Archery

หากใครที่คิดจะเริ่มยิงธนูเป็นงานอดิเรกหรืออยากฝึกฝนจริงจังจนเป็นนักกีฬา การศึกษาหาความรู้นอกจากการยิงธนูที่ถูกต้องแล้ว ความเข้าใจในเรื่องอุปกรณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะมองข้ามไม่ได้ แม้ปัจจุบันจะมีร้านขายอุปกรณ์ออนไลน์มากมาย แต่คันธนูนั้นเปรียบเหมือนเสื้อผ้า คันธนูที่ดีที่สุดคือคันที่เหมาะสมกับเราที่สุดค่ะ